- About SEAFDEC
- เกี่ยวกับ ซีฟเดค
The Southeast Asian Fisheries Development Center (SEAFDEC) is an autonomous inter-governmental body established in 1967. The mission of SEAFDEC considered and adopted by the Special Meeting of the SEAFDEC Council 2017 is “To promote and facilitate concerted actions among the Member Countries to ensure the sustainability of fisheries and aquaculture in Southeast Asia.”
SEAFDEC comprises 11 Member Countries: Brunei Darussalam, Cambodia, Indonesia, Japan, Lao PDR, Malaysia, Myanmar, Philippines, Singapore, Thailand, and Vietnam. The Center operates through the Secretariat located in Thailand and has five Technical Departments, namely: the Training Department (TD); the Marine Fisheries Research Department (MFRD); the Aquaculture Department (AQD); the Marine Fishery Resources Development and Management Department (MFRDMD); and the Inland Fishery Resources Development and Management Department (IFRDMD).
The SEAFDEC Secretariat is mandated to coordinate and oversee the general policy and planning of the Center, and acts as the focal point for channeling and implementing the decisions and resolutions of the SEAFDEC Council of Directors. In addition, the Secretariat also organizes regular SEAFDEC meetings to obtain directives and guidance from the Member Countries on the operation of the organization, as well as regional technical consultations and meetings on issues as recommended by the Member Countries. | |
Established in Thailand in 1968, TD has been focusing its efforts on the development of modern fishery techniques to aid regional fisheries in a more sustainable approach through the promotion of responsible fishing technologies and practices, exploration of resources, and advancing the coastal fisheries management approach. Under the new Strategic Plan which was endorsed in 2006, the structure and activities of TD have been adjusted to emphasize on the promotion of coastal fisheries management to ensure responsible resource utilization and sustainable livelihoods in coastal communities, and the promotion of off-shore fisheries through the development of best fishing practices and energy optimization technology to ensure stable supply of food fish and reduce fishing pressure in coastal areas. | |
MFRD was established in Singapore in 1969 and is responsible for promoting, undertaking, and coordinating research in fisheries post-harvest technology and furthering the development of the fish processing industry in the region. Its task includes research and development on fisheries post-harvest technology and practices, such as fish processing technology to optimize the utilization of harvested fish and enhancing the quality and safety of fish and fishery products. MFRD also develops technology-based analytical methods to assess seafood safety and quality, and publishes several manuals as reference materials for the Member Countries. | |
Established in the Philippines in 1973, AQD has been carrying out research, technology verification, training and information dissemination on a wide range of aquaculture disciplines, including broodstock management and seed quality improvement, promotion of responsible and environment-friendly aquaculture, diagnosis and control of aquatic diseases, aquaculture for stock enhancement, and culture of aquatic species under international concerns. The aquaculture commodities covered by AQD include fishes, shrimps, mud crab, mollusks, and seaweeds. In addition, AQD also promotes good aquaculture practices and effective management of aquatic resources to support rural development and alleviate poverty. | |
MFRDMD was established in Malaysia in 1992 to conduct activities on marine fishery resources focusing on biological studies of commercially-important fish species, resource assessment and management, and conservation and management of aquatic species under international concerns, e.g. sharks and marine turtles. MFRDMD also implements activities that support the Member Countries in gathering information on inland capture fisheries, and developing of indicators to be used for the sustainable development and management of fisheries. | |
IFRDMD was established in 2014 as the Fifth Technical Department of SEAFDEC. Located in Palembang, Indonesia, IFRDMD would be responsible for conducting activities to support sustainable development and management of inland capture fisheries in the Southeast Asian region. Activities of IFRDMD also cover development of methodologies for data collection, monitoring and assessment of inland fishery resources to provide scientific basis for development and management of fisheries. |
ซีฟเดค ประกอบด้วยประเทศสมาชิก รวม 11 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม มีการดำเนินงานผ่านสำนักเลขาธิการ (Secretariat)ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย โดยมีสำนักงานฝ่ายวิชาการ 5 แห่ง ได้แก่ สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม (TD) สำนักงานฝ่ายวิจัยผลิตภัณฑ์ประมงและการแปรรูปสัตว์น้ำ (MFRD) สำนักงานฝ่ายเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (AQD) สำนักงานฝ่ายพัฒนาและจัดการทรัพยากรประมงทะเล (MFRDMD) และสำนักงานฝ่ายพัฒนาและจัดการทรัพยากรประมงน้ำจืด (IFRDMD)
สำนักเลขาธิการ (Secretariat) มีหน้าที่ประสานงานและกำกับดูแลนโยบายและแผนงานของศูนย์ฯ ในภาพรวม รวมทั้งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานและการดำเนินการตามมติที่ได้รับการเห็นชอบโดยคณะมนตรีศูนย์ฯ นอกจากนี้สำนักเลขาธิการยังมีหน้าที่ในการจัดการประชุมประจำปีเพื่อรับบัญชาและข้อเสนอแนะจากประเทศสมาชิกสำหรับการดำเนินงานขององค์กร ตลอดจนการจัดประชุมทางวิชาการในระดับภูมิภาคและการประชุมในประเด็นต่างๆ ตามข้อเสนอจากประเทศสมาชิก | |
สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม (TD) ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2511 มีบทบาทมุ่งเน้นการพัฒนาเทคนิคการทำประมงที่ทันสมัยเพื่อสนับสนุนการประมงในภูมิภาคให้มีความยั่งยืน โดยการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและการปฏิบัติเพื่อการทำประมงอย่างรับผิดชอบ การสำรวจทรัพยากร และการพัฒนาแนวทางการจัดการทรัพยากรประมงชายฝั่ง ทั้งนี้ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ของ TD ซึ่งได้รับการรับรองในปี พ.ศ. 2549 สำนักงานฝ่ายฝึกอบรมได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภารกิจและกิจกรรม โดยมุ่งเน้นที่การส่งเสริมการจัดการทรัพยากรประมงชายฝั่งเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างรับผิดชอบอันจะนำไปสู่ความยั่งยืนในการดำรงชีพของชุมชนชายฝั่ง รวมถึงการส่งเสริมการประมงนอกชายฝั่งโดยการพัฒนาวิธีการทำการประมงที่ดี ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารและลดแรงกดดันจากการทำประมงในพื้นที่ชายฝั่ง | |
สำนักงานฝ่ายวิจัยผลิตภัณฑ์ประมงและการแปรรูปสัตว์น้ำ (MFRD) ก่อตั้งขึ้นในประเทศสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2512 มีหน้าที่ในการส่งเสริม ดำเนินการ และประสานงานการวิจัยด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมงในภูมิภาค งานที่ดำเนินการโดย MFRD ประกอบไปด้วยการทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและวิธีปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว ได้แก่ เทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมงเพื่อการใช้ประโยชน์ของสัตว์น้ำที่จับอย่างเหมาะสม ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ประมงและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ นอกจากนี้ MFRDMD ยังพัฒนาวิธีการตรวจวิเคราะห์โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อประเมินความปลอดภัยและคุณภาพของอาหารทะเล รวมทั้งเผยแพร่คู่มือต่างๆ เพื่อใช้เป็นเอกสารอ้างอิงสำหรับประเทศสมาชิก | |
สำนักงานฝ่ายเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (AQD) ก่อตั้งขึ้นในประเทศฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2516 มีหน้าที่ดำเนินการวิจัย ทวนสอบเทคโนโลยี จัดการฝึกอบรม และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในสาขาวิชาต่างๆ ตั้งแต่การจัดการพ่อแม่พันธุ์และการปรับปรุงคุณภาพลูกพันธุ์สัตว์น้ำ การส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างมีความรับผิดชอบและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การวินิจฉัยและการควบคุมโรคสัตว์น้ำ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของแหล่งน้ำ และการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำชนิดที่อยู่ภายใต้ข้อกังวลระหว่างประเทศ ทั้งนี้ กิจกรรมของ AQD ครอบคลุมชนิดสัตว์น้ำอันประกอบไปด้วย ปลา กุ้ง ปูทะเล หอย และสาหร่ายชนิดต่างๆ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี และการจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อการพัฒนาชนบทและบรรเทาความยากจน | |
สำนักงานฝ่ายพัฒนาและจัดการทรัพยากรประมงทะเล (MFRDMD) ก่อตั้งขึ้นในประเทศมาเลเซียในปี พ.ศ. 2535 เพื่อดำเนินกิจกรรมทางด้านทรัพยากรประมงทางทะเล โดยมุ่งเน้นไปที่การศึกษาทางชีววิทยาของสัตว์น้ำที่มีความสำคัญในเชิงพาณิชย์ การประเมินสภาวะและการจัดการทรัพยากร รวมถึงการอนุรักษ์และการจัดการสัตว์น้ำชนิดที่อญุ่ภายใต้ข้อกังวลระหว่างประเทศ เช่น ฉลามและเต่าทะเล MFRDMD ยังดำเนินกิจกรรมเพื่อสนับสนุนประเทศสมาชิกในการรวบรวมข้อมูลการทำประมงน้ำจืด และการพัฒนาตัวชี้วัดเพื่อใช้ในการจัดการประมงและการพัฒนาการทำประมงอย่างยั่งยืน | |
สำนักงานฝ่ายพัฒนาและจัดการทรัพยากรประมงน้ำจืด (IFRDMD) ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2557 เป็นสำนักงานฝ่ายวิชาการลำดับที่ห้าของซีฟเดค ตั้งอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง ประเทศอินโดนีเซีย มีหน้าที่ในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาและการจัดการการประมงน้ำจืดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างยั่งยืน รวมถึงการพัฒนาวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การติดตาม และการประเมินสภาวะทรัพยากรประมงน้ำจืดเพื่อเป็นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับการพัฒนาและการจัดการการประมง |